Research Cooperative Agreement With Ministry of Public Health-Thailand
Year 2 (FY2023) (September 1, 2023 –  August 31, 2024)
15 Projects

BSO จำนวน 1 โครงการ

ลำดับ แผนงาน ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ ชื่อโครงการภาษาไทย รหัสโครงการ หน่วยงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ วัตถุประสงค์
1 BSO Ministry of Public Health Coordinating Unit, Research โครงการหน่วยประสานความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S.CDC) ตามข้อตกลงความร่วมมือด้าน Research CU1-MOPH สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารสุข (กองยุทธศาสตร์และแผนงาน)  ดร.มะลิวัลย์ ยืนยงสุวรรณ 1. เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการโครงการ ในการดำเนินกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ตามข้อตกลงความร่วมมือด้าน Research ที่ได้รับงบประมาณจากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริก (U.S.CDC)
2. เพื่อสนับสนุนและพัฒนาแนวทางการนิเทศติดตามและประเมินผลกิจกรรมของโครงการต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุน
3. เพื่อประสานงานความร่วมมือกับเครือข่ายด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
4. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่โครงการให้มีความรู้ ในการบริหารจัดการโครงการและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

DGMQ จำนวน 1 โครงการ

ลำดับ แผนงาน ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ ชื่อโครงการภาษาไทย รหัสโครงการ หน่วยงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ วัตถุประสงค์
1 DGMQ Migrant Health Volunteer Network on Disease Surveillence, Prevention and Control of COVID-19 Situation in The Southern area Community in Phuket Province โครงการจัดทำระบบเครือข่ายอาสาสมัศรแรงงานข้ามชาติเพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ภาคใต้ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภูเก็ต” ปีงบประมาณ 2566 DGMQ-MNPC กรมควบคุมโรค นพ.สุทัศน์ โชตนะพันธ์ 1. เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ โดยสร้างหรือเสริมสร้างระบบเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ ซึ่งเป็นผลสำเร็จที่คาดว่าจะได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับสถาการณ์ปัจจุบัน
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคให้กับ อสต.
3. เพื่อส่งเสริมการให้วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว

FLU จำนวน 2 โครงการ

ลำดับ แผนงาน ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ ชื่อโครงการภาษาไทย รหัสโครงการ หน่วยงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ วัตถุประสงค์
1 FLU การตรวจหาการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ของบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย
ด้วยวิธีทางซีรั่มวิทยาและโมเลกุล
Flu-COVID-EPBI กรมควบคุมโรค นพ.สุทัศน์ โชตนะพันธ์ 1. เพื่อประมาณความชุกของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS CoV-2 และผู้ที่มีผลการตรวจแอนติบอดีเปลี่ยนจากลบเป็นบวก
2. เพื่อประมาณอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ SARS CoV -2 แบบแสดงอาการในบุคลากรทางการแพทย์
2 FLU Age-stratified sero-surveillance for SARS-CoV-2 infections in four cities in Thailand โครงการการเฝ้าระวังระดับภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนากลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงชนิดที่สองตามกลุ่มอายุในเขตเมืองสี่แห่งในประเทศไทย Flu-Serology กรมควบคุมโรค
(กองโรคติดต่อทั่วไป)
นาย สุทธิชัย นักผูก 1. เพื่อวัดความซุกที่ 0, 12 และ 24 ตามเวลาที่กำหนดและอุบัติการณ์การสะสมของการติดเซื้อ SARS COV 2 ในช่วงเวลาสองปี จำแนกตามกลุ่มอายุ และพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดนครพนม และในเขตกรุงเทพมหานคร

DGHP จำนวน 5 โครงการ

ลำดับ แผนงาน ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ ชื่อโครงการภาษาไทย รหัสโครงการ หน่วยงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ วัตถุประสงค์
1 DGHP Identification for Acute Febrile Iilness pathogens by Next Generation Sequencing Platform การจำแนกเชื้อก่อโรคไข้เฉียบพลันด้วยเทคโนโลยีถอดรหัสพันธุกรรมแบบ Next Generation Sequencing DGHP-AFINGS สถาบันวิจัยวิทยาศาตร์สาธารณสุข ดร.นพ.อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ 1. เพื่อตรวจจำแนกเชื้อที่ก่อโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุในพื้นที่จังหวัดนครพนมและตากที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศพม่า โดยใช้ตัวอย่างที่ส่งตรวจจากโครงการ DGHP-AFI ด้วยวิธีการตรวจวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรม Next Generation Sequencing (NGS)
2 DGHP A Survey of Possible Exposure to New Coronavirus Strains in Human Interating with Wildlife โครงการวิจัยเพื่อสำรวจความเสี่ยงในการสัผัสเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในผู้ปฏิบัติงานกับสัตว์ป่า DGHP-BAT กรมควบคุมโรค
(กองระบาดวิทยา)
สพ.ญ.สุธิดา ม่วงน้อยเจริญ 1. เพื่อสำรวจความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อไวรัสโคโรนาในผู้ปฏิบัติงานกับสัตว์ป่า โดยการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโคโรนาในคนชนิดอื่นๆ และเชื้อไวรัสโคโรนาในสัตว์ วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับประวัติการป่ายอาการทางเดินหายใจ/ คล้ายไข้หวัดใหญ่ในช่วงปีที่ผ่านมา
2. เพื่อเก็บข้อมูล รายละเอียดในการสัมผัสสัตว์ การปฏิบัติตนในการป้องกันโรค และการรับรู้ความเสี่ยง
3 DGHP Sureillance of COVID-19 in Patients Presenting with Febrile Illness in Nakornpanom Province โครงการเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยที่มีอาการไข้ในจังหวัดนครพนม DGHP-COVID Fever-NP สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
(หน่วยคุ้มครองสุขภาพโลกจังหวัดนครพนม)
นาย ปรีดา วรหาร 1. เพื่อตรวจหาการติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ในผู้ป่วยอาการไข้ที่มาโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการในจังหวัดนครพนม
2. เพื่อพรรณนาสัดส่วน และอาการทางคลินิกของผู้ป่วยอาการไข้ติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ที่ไม่มีอาการแสดง หรือมีอาการแสดงเล็กน้อยด้วยอาการอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาการ หรืออาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
3. เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในผู้ป่วยอาการไข้เกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 รวมถึงพฤติกรรมสุขภาพในการเข้าถึงด้านบริการสุขภาพ และปัญหาอุกสรรคที่เกี่ยวข้อง
4. เพื่อประเมินความเหมาะสมในการนำตัวอย่างน้ำลาย และตัวอย่างที่เก็บจากโพรงจมูกในการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 เทียบกับตัวอย่างที่เก็บจากหลังโพรงจมูก
5. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวิธีการตรวจหาภูมิต้านทาน และการตอบสนองขงภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อในผู้ป่วยโรคโควิด 19
4 DGHP Sureillance of COVID-19 in Patients Presenting with Febrile Illness in Tak Province,Thailand โครงการเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยที่มีอาการไข้ในจังหวัดตาก ประเทศไทย DGHP-COVID Fever-Tak กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลแม่สอด นาย สมยศ กรินทราทันต์ 1. เพื่อตรวจวิเคราะห์ และติดตามการติดเชื้อ SAR-CoV-2 ในผู้ป่วยที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยอาการไข้
2. พรรณนาสัดส่วน และลักษณะอาการทางคลินิกผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ในผู้ป่วยที่มีอาการไข้ที่อาจมี หรือไม่มีอาการของระบบทางเดินหายใจ รวมถึงการตอบสนองของระดับแอนติบอดี และผลลัพธ์ของการรักษาในผู้ป่วยซึ่งเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในเนื่องจากโรคโควิด 19 ที่อาจมีผลกระทบระยะยาวจากการติดเชื้อ
3. เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตนของผู้ป่วยที่มีอาการไข้ เพื่อความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรม และอุปสรรคต่างๆ ในการเข้ารับบริการทางการแพทย์
4. ศึกษา และหาคำตอบเกี่ยวกับอรรถประโยชน์ของตัวอย่างน้ำลาย และตัวอย่างที่ป้ายจากภายในจมูกว่าเหมาะสมเพื่อนำมาใช้ตรวจหา RNA ของเชื้อ SAR-CoV-2 หรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับตัวอย่างมาตรฐานจากช่องหลังโพรงจมูก และจากลำคอ
5. เกิดจากความเข้าใจในประวัติการได้รับเชื้อ หรือสัมผัสเชื้อ SAR-CoV-2 ในผู้ป่วยที่มีอาการไข้
6. พรรณนาสัดส่วนการติดเชื้อ SAR-CoV-2 ในผู้ป่วยที่มีประวัติได้รับ และไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
7. ศึกษาเชื้อสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ และสัดส่วนการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจร่วมกับการติดเชื้อ SAR-CoV-2 (Co-infection) รวมถึงลักษณะการกระจายของเชื้อก่อโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ในขณะมีการระบาดของโรคโควิด 19
5 DGHP Direct detection and identification of bacterial pathogen using next-generation sequencing technology in clinical specimens from sepsis patients in Thailand การตรวจวิเคราะห์และชี้บ่งเชื้อแบคที่เรียก่อโรคโดยตรงจากสิ่งส่งตรวจทางคลินิก
ของผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีการหาลำดับเบสยุคใหม่
DGHP-Sepsis-NGS สถาบันวิจัยวิทยาศาตร์สาธารณสุข ดร.นพ.อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ 1. เพื่อสร้าง และจัดทำฐานข้อมูลภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดระดับชาติ โครงการวิจัยจะออกแบบพัฒนาฐานข้อมูลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ประกอบด้วย ข้อมูลทางระบาดวิทยา อาการทางคลินิก ข้อบ่งชี้ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ผลการรักษา และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยจะมีการนำไปใช้และเก็บรักษาข้อมูลการวิจัยของผู้ป่วยในรูปแบบเอกสารรายงานการวิจัย และการเก็บรวบรวมข้อมูลบนเว็บสำหรับการศึกษาในกลุ่มประซากรขนาดใหญ่
2. เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการเข้าใจเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดรวมถึงการดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อ โครงการวิจัยจะพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์เชื้อก่อโรคด้วยเทคนิคเอ็นจีเอสโดยไม่การเพาะเลี้ยงเชื้อ และนำวิธีที่พัฒนาได้ไปใช้ในการตรวจวิเคราะห์และขี้บ่งเชื้อแบคที่เรียกสาเหตุของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในสิ่งส่งตรวจทางคลินิกที่รวมรวบจากผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดทั่วประเทศไทย นอกจากนี้จะมีการศึกษาความไวต่อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรียก่อโรคและกลไกระดับมเลกุลและระดับเซลล์ที่สัมพันธ์กับการดื้อยาต้านจุลชีพ
3. เพื่อพัฒนาและประเมินวิธีหรือเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ในการเพิ่มศักยภาพห้องปฏิบัติการในการตรวจวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โครงการวิจัยจะพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์อย่างรวดเร็วด้วยเทคนิระดับโมเลกุลสำหรับการตรวจหาเชื้อ
แบคทีเรียก่อโรคและยืนดื้อต่อยาต้านจุลชีพ โดยตรวจสอบความถูกต้องและเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับการทดสอบในห้องปฏิบัติการแบบดั้งเดิม
4. เพื่อสร้างเครือข่ายวิจัยด้านโรคติดเชื้อของนักวิจัยจากสหสาขาวิชา โครงการวิจัยจะจัดตั้งกลุ่มวิจัยหลายแห่งทั่วประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือของนักวิจัยจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยของรัฐบาล โดยทีมวิจัยมีความเชี่ยวซาญทางด้านโรคติดเชื้อ แบคที่เรีย การดื้อยาต้านจุลชีพ การวิจัยและพัฒนวิธีการวินิจฉัยด้วยเทคนิคระดับโมเลกุล และการวิเคราะห์ทางชีวสารสนเทศ

DHAP จำนวน 6 โครงการ

ลำดับ แผนงาน ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ ชื่อโครงการภาษาไทย รหัสโครงการ หน่วยงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ วัตถุประสงค์
1 DHAP Seroprevalence of Coronavirus Antibodies in Human Pre-and Post-ernergence of Coronavirus Disease 19 in Thailand การศึกษาความซุกของภูมิต้านทาน ต่อไวรัสโคโรนาในมนุษย์ ก่อนและหลังอุบัติการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 DHAP-COSERO กรมควบคุมโรค
(กองโรคติดต่อทั่วไป)
พญ.บุษบัน เชื้ออินทร์ 1. เพื่อสำรวจ และศึกษาด้านระบาดวิทยาของภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่อาจมีอยู่แล้วในประเทศไทย ก่อนการอุบัติขึ้นของเชื้อไวรัสโคโรนา ทั่วโลกในเดือนธันวาคม 2562
2. เพื่อสำรวจ และศึกษาด้านระบาดวิทยาของภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่นๆ ในประเทศก่อนและหลังการอุบัติขึ้นของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลกในเดือนธันวาคม 2562
3. วิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
4. พัฒนาศักยภาพของการตรวจวัดภูมิต้านทานด้านต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนาในมนุษย์
2 DHAP A Phase 2b/3 Double Blind Safety and Efficacy Study of Injectable Cabotegravir Compared to
Daily Oral Tenofovir Disoproxil Fumarate/ Emtricitabine (TDF/FTC), for Pre-Exposure Prophylaxis
in HIV-Uninfected Cisgender Men and Transgender Women who have Sex with Men
โครงการศึกษาวิจัยระยะที่ 2บี/3 แบบปกปิดข้อมูลสองทางเพื่อเปรียบเทียบความปลอดภัย
และประสิทธิผลของยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ (Carbotegravi) กับยาสูตรผสมที่โนโฟเวียร์ ไดโซพรอกชิล ฟูมาเรต/
เอ็มทริซิทาบีน (ทีดีเอฟ/เอฟทีซี) ชนิดกินวันละครั้งสำหรับป้องกันการติดเชื้อก่อนการสัมผัสในผู้ชายโดยกำเนิดและสาวประเภทสองที่ไม่ติดเชื้อเอซไอวีซึ่งมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ปีงบประมาณ 2566
DHAP-HPTN 083 กรมควบคุมโรค
(กองโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)
นางสาว สุชาดา เจียมศิริ 1. เพื่อเปรียบเทียบอัตราอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีระหว่างผู้เข้าร่วมวิจัยที่ได้รับการสุ่มเลือกให้กิน CAB/ CAB LA (นำร่องด้วยการกินจากนั้นเปลี่ยนเป็นฉีด) กับกิน TDF/ FTC (ขั้นที่ 1 และ 2)
2. เพื่อเปรียบเทียบความปลอดภัยระหว่างการกิน CAB/CAB LA กับการกิน TDF/ FTC
3 DHAP Administration and Technical Support for DHAP & MOPH Collaboration โครงการสนับสนุนด้านการบริหารและด้านวิชาการสำหรับความร่วมมือระหว่างกองป้องกันเอชไอวีและเอดส์ของศูย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข และกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2566 DHAP-Main กรมควบคุมโรค
(กองโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)
นางสาว สุชาดา เจียมศิริ 1. จัดให้มีช่องทางสำหรับการเข้าถึงบริการต่างๆ และขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านการตรวจหาเชื้อเอชไอวี การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการส่งต่อไปยังบริการด้านการดูแลและการรักษาเอชไอวีสำหรับชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
2. เพื่อปรับปรุงคุณภาพและการใช้ประโยชน์จากบริการด้นการตรวจหาเชื้อเอซไอวีและการให้คำปรึกษาโดยสมัครใจ (VCT) และบริการเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) สำหรับชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) และกลุ่มสาวประเภทสอง (TG)
3. สนับสนุนทุนสำหรับค่าเช่าสถานที่และค่าสาธารณูปโภคของคลินิกชุมชนสีลม@ทรอปเมด
4. สนับสนุนทุนด้านการบริหารจัดการและด้านวิชาการสำหรับความร่วมมือระหว่างกองป้องกันเอชไอวีและเอดส์ ของศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (TUC) และกระทรวงสาธารณสุข
4 DHAP Feminizing Hormone Therapy and The Rectal Mucosa Immune Environment
in Transgender Women
โครงการวิจัยการศึกษาวิจัยการใช้ฮอร์โมนสตรีและผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของยื่อบุทวารหนักในกลุ่มสาวประเภทสอง ปีงบประมาณ 2566 DHAP-TGWSM กรมควบคุมโรค
(กองโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)
1. เพื่อเปรียบเทียบจำนวนเซลล์เป้าหมายของเอชไอวีที่มีอยู่และที่ถูกกระตุ้นภายในเยื่อบุทวารหนักผู้ไม่ติดเชื้อเอซไอวี่ 2 กลุ่ม ได้แก่ ก. สาวประเภทสองที่กำลังใช้ฮอร์โมนสตรี และ ข. ชายเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักแบบเป็นฝ่ายรับโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย และในสาวประเภทสองที่มีเพศสัมพันธ์กับชายก่อนและหลังการใช้ฮอร์โมนสตรีเพื่อการบำบัด
2. เพื่อเปรียบเทียบทรานสคริปโตมของเซลล์เยื่อบุทวารหนักระหว่าง ก. สาวประเภทสองที่กำลังใช้ฮอร์โมนสตรี และ ข. ชายรักชายที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักแบบเป็นฝ่ายรับโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย และในสาวประเภทสองที่มีพศสัมพันธ์กับชายก่อนและหลังการใช้ฮอโมนสตรีเพื่อการบำบัด เพื่อหาวิธีที่มีศักยภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอซไอวีโดยใช้วิธีการทางชีวการแพทย์
3. เพื่ออธิบายลักษณะความแตกต่างในองค์ประกอบและความหลากหลายของจุสินทรีย์ที่เยื่อบุทวารหนักที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฮอร์โมนสตรีและทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์และการอักเสบของเยื่อบุ รวมทั้งปฏิกิริยาการตอบรับ เพื่อวางรูปแบบการวิจัยในอนาคตสำหรับการวิจัยการป้องกันเอซไอวี
5 DHAP A mutti – center randomized, open – label, non-inferiority trial to evaluate the efficacy and safety of a single, oral dose of zoliflodacin compared to a combination of a SINGLE intramuscular dose of ceftriaxone
and a SINGLE oral dose of azithromycin in the treatment of patients with uncomplicated gonorrhea
โครงการการศึกษาวิจัยแบบสุ่ม เปิดเผยชื่อยา ดำเนินการในหลายสถาบัน บนสมมติฐานของความไม่ด้อยกว่าเพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์วิจัยโซลิโฟลดาซิน (Zoliflodacin) ชนิดรับประทาน
ครั้งเดียวเปรียบเทียบกับยาเซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) ชนิดฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อครั้งเดียวร่วมกับยาอะซิโธรมัยชิน
(Azithromycin) ชนิดรับประทานครั้งเดียวในการรักษาผู้ป่วยโรคหนองในชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565
DHAP-ZOLI กรมควบคุมโรค
(กองโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)
นางสาว สุชาดา เจียมศิริ 1. เพื่อประเมินประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์วิจัยโซโฟลดาชินชนิดรับประทาน 3 กรัมจำนวนหนึ่งครั้งเปรียบเทียบ กับยาสูตรผสมระหว่างยาเซฟไตรอะโซนชนิดฉีตผ่านทางชั้นกล้ามเนื้อ (IM) 500 มิลลิกรัม จำนวนหนึ่งครั้ง และยาอะซิโธรมัยชินชนิดรับประทาน 1 กรัม จำนวนหนึ่งครั้งในการรักษาผู้ป่วยโรคหนองในระบบ
ปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์ชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน
6 DHAP DHP-HomePrEP